นำเสนอเทคโนโลยี
11 ตุลาคม 2566 97 Views
น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวไรซ์เบอร์รี่
นำออกรายการโปรด แชร์หน้านี้
สรุปเทคโนโลยี

         กรรมวิธีผลิต “น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวไรซ์เบอร์รี่” โดยใช้กระบวนการหมักอย่างต่อเนื่องแบบหมุนวน ช่วยลดขั้นตอนการผลิตและแรงงานคน ใช้จุลินทรีย์ที่มีสภาวะเหมาะสมในการหมัก ทำให้มีกลิ่น รสชาติที่ดี มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ

รายละเอียด

            ข้าวเป็นอาหารในชีวิตประจำวันของคนไทย มีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารมากมาย ซึ่งข้าวแต่ละสายพันธุ์จะมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน สายพันธุ์ที่พบสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมากที่สุดในปัจจุบันคือ ข้าวไรซ์เบอร์รี เป็นการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะสีม่วงเข้ม เม็ดเรียวยาว มันวาว หุงสุกแล้วมีความนุ่ม หนึบ เด้ง เคี้ยวสู้ฟัน และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ที่สำคัญมีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ร้ายแรงอย่างโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น

           “น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวไรซ์เบอร์รี่” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยใช้กระบวนการหมักอย่างต่อเนื่อง (continuous fermentation) แบบหมุนวน ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนการผลิตและแรงงานคนเมื่อเปรียบเทียบกับการหมักด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม ใช้ระยะเวลาการหมักเพียง 45 วัน โดยคัดเลือกสายพันธุ์ของเชื้อจุลินทรีย์ Acetobacter aceti เพื่อให้มีอัตราการผลิตสูงสุดและรสชาติที่ดี มีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยในการระบายทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ

จุดเด่น

  • ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ได้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
  • ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยลดต้นทุน เพราะมีอัตราการผลิตสูงโดยใช้ระยะเวลาหมักสั้น

วัตถุประสงค์

  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปใช้

  • ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 
  • เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่
  • ผู้ที่สนใจทั่วไป

เงื่อนไข/หมายเหตุ

  • มีประสบการณ์ทางธุรกิจหรือมีความรู้/ ความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่ต้องการ
  • มีแหล่งผลิต พร้อมเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี/ ร่วมพัฒนาต่อยอด

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
พร้อมถ่ายทอด
  • งานวิจัย
  • ต้นแบบ
  • ทดสอบภาคสนาม
  • พร้อมถ่ายทอด
เนื้อหาเทคโนโลยีอื่นๆ