นำเสนอเทคโนโลยี
27 กันยายน 2566 115 Views
การบ่มทุเรียนหมอนทองให้ได้มาตรฐานส่งออก
นำออกรายการโปรด แชร์หน้านี้
สรุปเทคโนโลยี

             กรรมวิธีการบ่มทุเรียนหมอนทองให้ได้มาตรฐานการส่งออก ช่วยลดความเสียหาย ปริแตกของผลทุเรียนจากการใช้ปริมาณสารเร่งสุกที่ไม่เหมาะสม  ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารตกค้าง ช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออกทุเรียนไทยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้

รายละเอียด

             “เอทีฟอน” เป็นสารเคมีที่เกษตรกรหรือผู้ส่งออกทุเรียนใช้เพื่อกระตุ้นการสุกของผลทุเรียน แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท เกิดความเสียหายต่อผลทุเรียน เปลือกปริแตกไม่สามารถจำหน่ายได้  ซึ่งมาตรฐานการส่งออกกำหนดไว้ให้ตกค้างได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ในขณะที่บางครั้งสารตกค้างในทุเรียนจากประเทศไทยยังมีค่าเกินมาตรฐาน จึงทำให้ปริมาณการส่งออกในปี 2558 ชะลอตัวลง  เนื่องจากความเข้มงวดของประเทศที่นำเข้าทุเรียนจากไทยโดยเฉพาะประเทศจีน
              องค์ความรู้/เทคโนโลยี “การบ่มทุเรียนให้ได้มาตรฐานส่งออก” ช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกและผู้ส่งออกทุเรียนสามารถใช้สารเอทีฟอนในปริมาณและจำนวนครั้งที่เหมาะสม โดยเป็นกรรมวิธีที่ปลอดภัย มีสารตกค้างไม่เกินค่ามาตรฐานและควบคุมการสุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปลือกทุเรียนแตกช้าลง  เมื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนแล้วส่งผลให้การส่งออกในช่วง 7 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2563 สามารถส่งออกทุเรียนในปริมาณที่มากขึ้น 1.68 เท่า โดยที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากถึง 5.2 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดโลกมีความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของทุเรียนไทย

จุดเด่น

  • มีการใช้สารเร่งสุกเอทีฟอนในปริมาณที่เหมาะสม ลดสารตกค้างในผลทุเรียน
  • ผลผลิตได้มาตรฐานการส่งออก เพิ่มปริมาณการส่งออกได้
  • ลดความเสียหายจากการใช้สารเร่งสุกในปริมาณที่ไม่เหมาะสม
  • ช่วยลดต้นทุนในเรื่องของสารเร่งสุก และต้นทุนที่เกิดจากผลผลิตเสียหายได้

วัตถุประสงค์

ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกและผู้ส่งออกทุเรียน รวมถึงผู้สนใจทั่วไป

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปใช้

  • เกษตรกรผู้เพาะปลูกทุเรียน
  • ผู้ประกอบการขายทุเรียนทั้งภายในประเทศและส่งออก

เงื่อนไข/หมายเหตุ

  • มีประสบการณ์ทางธุรกิจ หรือความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่สมัคร
  • มีความพร้อมด้านเงินลงทุนและบุคลากร
  • มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการนำเทคโนโลยีไปใช้ / ร่วมพัฒนาต่อยอด

ตัวอย่างความสำเร็จที่ผ่านมา

  • ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ่ายทอดให้ผู้ส่งออกจำนวน 30 ราย
  • ถ่ายทอดในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 10 ครั้ง ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกรวมกว่า 700 คน
    และผู้ประกอบการโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุกว่า 300 ราย
  • อบรมให้แก่เกษตรกรและผู้ส่งออกทุเรียนที่จังหวัดชุมพรประมาณ 75 ราย
  • ถ่ายทอดผ่าน Zoom application และ  Facebook live  ให้ผู้ชมที่ลงทะเบียนกว่า 200 ราย
  • ถ่ายทอดผ่านรายการโทรทัศน์ วารสาร  สื่อออนไลน์ต่างๆอีกหลายรายการ

-
นครปฐม นครปฐม
พร้อมถ่ายทอด
  • งานวิจัย
  • ต้นแบบ
  • ทดสอบภาคสนาม
  • พร้อมถ่ายทอด
เนื้อหาเทคโนโลยีอื่นๆ