วิธีการเพาะปลูกกล้วยหอมทองสลับกับข้าวโพดหวานที่สามารถสร้างรายได้สูง
ปทุมธานีโมเดลเป็นหนึ่งในโครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล ที่สร้างรายได้สูงจากการปรับปรุงระบบการทำเกษตรตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีเกษตรกรต้นแบบปลูกกล้วยหอมทองสลับข้าวโพดหวาน ใช้องค์ความรู้ การวางแผนการผลิตและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัยในการเพาะปลูก ซึ่งในปี 2566 พืชทั้ง 2 ชนิดสามารถสร้างรายได้สุทธิสูงถึง 208,520 บาท/ไร่ /ปี จึงเป็นโมเดลที่น่าสนใจ โดยเกษตรกรยินดีถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเพาะปลูกกล้วยหอมทองและข้าวโพดหวาน ที่ประสบความเร็จนี้ให้แก่เกษตรกรและบุคคลที่สนใจเพื่อต่อยอดขยายความสำเร็จไปสู่พื้นที่อื่นๆ
เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด :
- การเตรียมดิน ปรับพื้นที่ ใส่ปุ๋ย จัดการดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิด
- การเพาะปลูก การกำหนดระยะห่างระหว่างต้นกล้วย การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
- การดูแลรักษา เช่น วิธีการให้น้ำ การให้ปุ๋ยตามอายุของพืช การค้ำยันต้นกล้วย การห่อผลกล้วย เป็นต้น
- การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ในกล้วยหอมทอง เช่น โรคตายพราย โรคใบจุด หนอนกอกล้วย ฯลฯ ในข้าวโพดหวาน เช่น โรคราน้ำค้าง ใบไหม้แผลใหญ่ หนอนกระทู้ลายจุด เป็นต้น
- การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังเก็บเกี่ยว ระยะเวลา วิธีการเก็บเกี่ยว วิธีการทำความสะอาดผลผลิตและจัดเก็บให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด รวมไปถึงการเตรียมดินหลังเก็บเกี่ยวพืชแต่ละชนิดให้พร้อมสำหรับการปลูกพืชสลับต่อไป
- การตลาดและจัดจำหน่าย การหาแหล่งจัดจำหน่าย การวางแผนจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปเพื่อจำหน่ายกล้วยหอมทองที่ตกเกรดเป็นผลิตภัณฑ์ ขนมเค้ก กล้วยทอด น้ำปั่น
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นโมเดลต้นแบบด้านการทำเกษตรรายได้สูงของจังหวัดปทุมธานี
- ได้รับรางวัลชมเชยเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศสาขาพืชสวน
- ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP กล้วยหอมทอง
- มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี จึงช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของเคมีลงได้
- เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานการผลิตกล้วยหอมทอง
ผู้สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
- สภาพพื้นที่ สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ในพื้นที่ร่องสวนและพื้นที่ทั่วไป
- แหล่งน้ำ ควรมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการปลูกพืชตลอดปีหรือมีแหล่งน้ำเสริม เช่น อยู่ในเขตชลประทาน มีน้ำบาดาล เป็นต้น
- เงินทุน ประมาณ 30,000 บาท/ไร่