วิธีการเพาะปลูกทุเรียนร่วมกับพืชชนิดอื่น ๆ ได้แก่ มะยงชิดและพริกขี้หนู ที่สามารถสร้างรายได้สูง
นนทบุรีโมเดลเป็นหนึ่งในโครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล ที่สร้างรายได้สูงจากการปรับปรุงระบบการทำเกษตรตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีเกษตรกรต้นแบบเพาะปลูกทุเรียนทั้งพันธุ์การค้าและพันธุ์พื้นเมืองร่วมกับมะยงชิดและพริกขี้หนูสวน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง เป็นตัวอย่างของการจัดการการเกษตรที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัย โดยในปี 2566 สามารถสร้างรายได้รวมสุทธิสูงถึง 181,780 บาท/ไร่/ปี จึงเป็นโมเดลที่น่าสนใจ โดยทางเกษตรกรยินดีถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเพาะปลูกทุเรียนร่วมกับมะยงชิดและพริก ที่ประสบความสำเร็จนี้ให้แก่เกษตรกรและบุคคลที่สนใจเพื่อต่อยอดขยายความสำเร็จไปสู่พื้นที่อื่นๆ
ตัวอย่างพันธุ์ทุเรียนการค้า :
พันธุ์ทุเรียนที่เพาะปลูก อาทิ
- หมอนทอง
- ก้านยาว
- กระดุมทอง
- นกหยิบ
- กบชายน้ำ
- กบตาขำ
- พานพระศรี
- ทองย้อยฉัตร
- ฯลฯ
เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด :
- สภาพพื้นที่ปลูก การเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกทุเรียน เช่น ลักษณะดิน ความลึกของหน้าดิน ตำแหน่งแหล่งน้ำ เป็นต้น
- การเตรียมดินและการยกร่องสวน การกำจัดวัชพืช การไถดินปรับสภาพ การยกร่องสวนให้มีขนาดกว้าง ยาวที่เหมาะสม
- การเตรียมต้นพันธุ์ การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ต้องการปลูก การเลือกต้นพันธุ์ทุเรียนที่มีสภาพสมบูรณ์พร้อมปลูก
- การปลูกทุเรียน การเตรียมแปลงปลูกตามรูปแบบที่กำหนด การนำต้นพันธุ์ลงแปลงปลูกพร้อมค้ำยันลำต้น การกำหนดระยะห่างพืชที่เหมาะสม
- การปลูกไม้ผลและผักร่วมกับทุเรียน ได้แก่ มะยงชิดและพริกขี้หนู วิธีการกำหนดระยะห่างและแผนผังการปลูกพืชแต่ละชนิดที่เหมาะสม
- การใส่ปุ๋ย การเตรียมพื้นที่ก่อนใส่ปุ๋ย การกำหนดปริมาณตามชนิดปุ๋ย การให้ปุ๋ยตามอายุพืช
- การขุดลอกท้องร่อง วิธีการขุดดินเลนมาเสริมดินเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้พืช
- การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช วิธีการจัดการรอยโรคป้องกันการเกิดซ้ำ
- การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว อายุและลักษณะภายนอกผลที่เหมาะสมแก่การเก็บเกี่ยว วิธีการเก็บเกี่ยว วิธีการดูแลผลหลังเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นโมเดลต้นแบบด้านการทำเกษตรรายได้สูงของจังหวัดนนทบุรี
- มีการจัดการแปลงตามมาตรฐานการผลิตพืชที่ดี (GAP) ที่ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ สร้างรายได้สูง
- ใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยหมักนานาชนิดจากธรรมชาติ ในการบำรุง ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช ช่วยลดการใช้สารเคมี จึงเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อเกษตรกร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- การปลูกพืชหลายชนิดร่วมกัน ช่วยให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายฤดูกาล มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ
ผู้สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
- สภาพพื้นที่ ปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
- แหล่งน้ำ มีปริมาณน้ำเพียงพอหรือมีแหล่งน้ำเสริม เช่น อยู่ในเขตชลประทาน มีน้ำบาดาล เป็นต้น คุณภาพน้ำต้องดีไม่มีความเค็ม