นำเสนอเทคโนโลยี
29 สิงหาคม 2566 105 Views
รถยกสูงสำหรับใส่ปุ๋ยพร้อมกำจัดวัชพืชในไร่มันสำปะหลัง
นำออกรายการโปรด แชร์หน้านี้
สรุปเทคโนโลยี

        เทคโนโลยีการผลิตรถยกสูงสำหรับใส่ปุ๋ยพร้อมกำจัดวัชพืชในไร่มันสำปะหลัง  ที่สามารถปรับแต่งระยะห่างหรือรูปแบบของเครื่องจักรได้ตามต้องการ ช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนการจ้างแรงงานในการใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมี  ช่วยให้มีกำไรเพิ่มขึ้น สามารถแข่งขันราคามันสำปะหลังในท้องตลาดได้มากขึ้น

รายละเอียด

        จากการประกาศนโยบายเลิกใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช (พาราควอต) ในปี พ.ศ.2561 ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง เนื่องจากต้องใช้แรงงานคนในการกำจัดวัชพืชแทนสารเคมี ซึ่งต้องใช้ทั้งระยะเวลาและจำนวนการจ้างคนมากกว่าเดิม ด้วยต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้เกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังขาดทุนเป็นจำนวนมาก

        เทคโนโลยีการผลิต“รถยกสูงสำหรับใส่ปุ๋ยพร้อมกำจัดวัชพืชในไร่มันสำปะหลัง” เป็นการใช้รถยกสูงเครื่องยนต์ดีเซล 24 แรงม้า ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่สามารถปรับความกว้างล้อได้ตามระดับที่ต้องการถึง 4 ระดับ มีท่อสำหรับโรยปุ๋ยพร้อมกำจัดวัชพืชและกลบปุ๋ยด้วยจานผานในคราวเดียวกัน   ช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลังสามารถประหยัดต้นทุนการจ้างแรงงานคน และประหยัดเวลาในการใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืชในไร่มันสำปะหลังได้

ลักษณะและส่วนประกอบของเครื่องมือ

รถมีขนาด กว้าง 230 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร และ สูง 230 เซนติเมตร ระยะใต้ท้องรถ120 เซนติเมตร ประกอบด้วย

  1. เครื่องยนต์ดีเซล 24 แรงม้า 
  2. ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่สามารถปรับความกว้างล้อ ที่ระยะ 80 100 110 และ 120 เซนติเมตร
  3. ถังบรรจุปุ๋ย50 กิโลกรัม 
  4. ผานจาน 4 ชุด

จุดเด่น

  • ช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าแรงงานและประหยัดเวลาในการใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช
  • สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของเครื่องจักรได้ตามต้องการ

วัตถุประสงค์

ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลัง รวมถึงผู้สนใจทั่วไป

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปใช้

  • เกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง
  • ผู้ประกอบการขายเครื่องมือเครื่องจักรการเกษตร

เงื่อนไข/หมายเหตุ

  • มีประสบการณ์ทางธุรกิจ หรือความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่สมัคร
  • มีความพร้อมด้านเงินลงทุนและบุคลากร
  • มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการนำเทคโนโลยีไปใช้ / ร่วมพัฒนาต่อยอด

ตัวอย่างความสำเร็จที่ผ่านมา

ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 80 ราย

-
สุราษฎร์ธานี สุราษ
พร้อมถ่ายทอด
  • งานวิจัย
  • ต้นแบบ
  • ทดสอบภาคสนาม
  • พร้อมถ่ายทอด
เนื้อหาเทคโนโลยีอื่นๆ