นำเสนอเทคโนโลยี
31 สิงหาคม 2566 101 Views
วิธีบ่มทุเรียนให้ไร้สารตกค้าง
นำออกรายการโปรด แชร์หน้านี้
สรุปเทคโนโลยี

        กรรมวิธีการบ่มทุเรียนให้ไร้สารตกค้าง ผ่านตามมาตรฐานการส่งออก ช่วยลดความเสียหายของผลทุเรียนจากการใช้ปริมาณสารเร่งสุกที่ไม่เหมาะสม เพิ่มทางเลือกในการใช้สารเร่งสุกจากธรรมชาติที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและต้นทุนต่ำ จึงช่วยให้เพิ่มโอกาสในการแข่งขันและมาตรฐานการส่งออกทุเรียนไทยได้

รายละเอียด

        ในการบ่มทุเรียนเกษตรกรหรือผู้ส่งออกมักใช้สารเร่งสุก “เอทีฟอน” เพื่อกระตุ้นการสุกของผลทุเรียนในระหว่างการขนส่ง ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น และช่วยเพิ่มกำไรให้กับเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีการตรวจพบสารเร่งสุกดังกล่าวในผลทุเรียนสูงกว่าข้อกำหนด ส่งผลกระทบต่อการส่งออก เนื่องจากเอทีฟอนเป็นสารพิษที่ก่อการระคายเคืองผิวหนังและดวงตา รวมทั้งส่งผลต่อความผิดปกติของระบบประสาทกล้ามเนื้อและสมอง โดยประเทศผู้นำเข้า เช่น จีน ฮ่องกง ได้กำหนดปริมาณการตกค้างสูงสุดของอีทีฟอนในผลทุเรียนสด 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสหภาพยุโรปกำหนดเท่ากับ 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นต้น 

        องค์ความรู้ / เทคโนโลยี “วิธีบ่มทุเรียนให้ไร้สารตกค้าง ได้มาตรฐานส่งออก” ช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกและผู้ส่งออกทุเรียนสามารถใช้สารเอทีฟอนในปริมาณและจำนวนครั้งที่เหมาะสมก่อนการบรรจุ เป็นกรรมวิธีที่ปลอดภัย มีสารตกค้างไม่เกินค่ามาตรฐานและควบคุมการสุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปลือกทุเรียนแตกช้าลง  นอกจากนี้ องค์ความรู้ที่ถ่ายทอดให้ยังรวมถึงวิธีการอื่นที่เป็นทางเลือก เช่น การใช้ “แก๊สเอทิลีน” เพื่อทดแทนเอทีฟอนในการบ่ม ซึ่งเป็นแก๊สธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษ ต้นทุนต่ำและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงช่วยให้การส่งออกสามารถทำได้ในปริมาณที่สูงและได้มาตรฐานมากขึ้น

จุดเด่น

  • มีการใช้สารเร่งสุกเอทีฟอนในปริมาณที่เหมาะสม ลดสารตกค้างในผลทุเรียน
  • เพิ่มทางเลือกด้วยการใช้แก๊สเอทิลีนในการบ่มซึ่งเป็นแก๊สธรรมชาติ ไม่มีพิษ
  • ผลผลิตได้มาตรฐานการส่งออก เพิ่มปริมาณการส่งออกได้
  • ลดความเสียหายจากการใช้สารเร่งสุกในปริมาณที่ไม่เหมาะสม 
  • ช่วยลดต้นทุนในเรื่องของสารเร่งสุก และต้นทุนที่เกิดจากผลผลิตเสียหายได้

วัตถุประสงค์

ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกและผู้ส่งออกทุเรียน รวมถึงผู้สนใจทั่วไป

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปใช้

  • เกษตรกรผู้เพาะปลูกทุเรียน
  • ผู้ประกอบการขายทุเรียนทั้งภายในประเทศและส่งออก

เงื่อนไข/หมายเหตุ

  • มีประสบการณ์ทางธุรกิจ หรือความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่สมัคร
  • มีความพร้อมด้านเงินลงทุนและบุคลากร
  • มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการนำเทคโนโลยีไปใช้ / ร่วมพัฒนาต่อยอด

ตัวอย่างความสำเร็จที่ผ่านมา

  • ถ่ายทอดในพื้นที่จ.จันทบุรี ให้แก่ เกษตรกรสวนทุเรียน นักคัดนักตัดและผู้ประกอบการโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุทุเรียน ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา รวมแล้วกว่า500 ราย
  • ถ่ายทอดในพื้นที่จ.ชุมพร ให้แก่ผู้ตรวจคัดเลือกทุเรียน  ชาวสวน โรงคัดบรรจุ ผู้ส่งออก รวม 75 ราย
  • ถ่ายทอดด้วยการอบรมออนไลน์ ให้แก่ชาวสวน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้สนใจทั่วไป กว่า 200 ราย
  • อยู่ระหว่างวางแผนการใช้เอทิลีนทดแทนเอทีฟอนในบริษัทผู้ส่งออกเอกชน
  • ถ่ายทอดผ่านรายการเกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน และสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น YouTube, Facebook live ของเอกชน เป็นต้น

-
จันทบุรี จันทบุรี
พร้อมถ่ายทอด
  • งานวิจัย
  • ต้นแบบ
  • ทดสอบภาคสนาม
  • พร้อมถ่ายทอด
เนื้อหาเทคโนโลยีอื่นๆ